รูปแบบการชำระเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการของมนุษย์ได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันแม้เงินสดและเช็คยังคงมีการใช้อย่างแพร่หลายแต่ก็ถูกทดแทนด้วย “การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” (electronic payments) หรือ “e-payments” มากขึ้น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการมาสักช่วงใหญ่ๆ แล้ว ยังมีการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ เพื่อชำระเงินแก่คู่ค้าหรือจ่ายเงินเดือนแก่พนักงาน
“การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” ช่วยลดต้นทุน
                เงินสดและเช็คมีต้นทุนการจัดการที่สูงมาก โดยเฉพาะเงินสด มีต้นทุนจากขั้นตอนการผลิตที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อป้องกันการปลอมแปลง จนกระทั่งถึงมือประชาชนมันจะต้องผ่านกระบวนการนับ คัดแยก ขนส่ง จัดเก็บ จนถึงการส่งธนบัตรที่เสื่อมสภาพกลับมาทำลายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังต้องมีค่าประกันความเสียหายจากการสูญหาย โดยจะมีสามฝ่ายที่แบกรับภาระต้นทุนไว้มากที่สุด คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเพราะเป็นผู้ผลิตและกระจายธนบัตรสู่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ในฐานะผู้กระจายธนบัตรถึงมือประชาชนผ่านช่องทางสาขาและเครื่องเอทีเอ็ม และกลุ่มร้านค้าที่จ่ายและรับเงินสด สำหรับประชาชนจะมีค่าใช้จ่ายทางอ้อมผ่านทางค่าสินค้าและบริการ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์
                 สำหรับการชำระเงินด้วยเช็ค ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ไทยเมื่อไม่นานนี้พบว่า ภาคธุรกิจมีต้นทุนในการใช้เช็คเฉลี่ยต่อฉบับสูงถึง 88.6 บาทเลยครับ ประกอบด้วย ค่าใบเช็ค ค่าเวลา และเงินเดือนของพนักงาน และผู้บริหารที่เป็นผู้ลงนามบนเช็ค ในขณะที่การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทดแทนเช็คได้มีต้นทุนเฉลี่ยต่อรายการเพียง 28.2 บาท และจากข้อมูลในหลายๆ ประเทศบอกมาว่า e-payments ช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศโดยรวมได้ไม่น้อยกว่า 1% ของ GDP ต่อปี ตรงนี้ทำให้ไม่ต้องสงสัยเลยนะครับว่าทำไมรัฐบาลในหลายประเทศ จึงได้กำหนดนโยบายให้มีการใช้ epayments เพื่อทดแทนเงินสดและเช็คมากขึ้น
การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในการทำธุรกิจ
จากการที่เงินสดและเช็คเป็นการทำธุรกรรมที่คู่ค้าต้องมาพบหน้ากัน (face to face transaction) จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ e-commerce ในขณะที่ e-payments ช่วยให้คู่ค้าที่อยู่ห่างกันสามารถชำระเงินระหว่างกันได้ มีข้อมูลของบริษัท Global Insightพบว่าการขยายตัวของ e-payments ในอเมริกาได้ช่วยทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นถึง 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาและสามารถสร้างงานใหม่ให้ชาวอเมริกันได้ถึง 1.3 ล้านตำแหน่งนอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ
ด้วย เห็นไหมครับว่ามันช่วยเพิ่มโอกาสอย่างมากเลยจริงๆ


“การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” เพิ่มความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงิน
              เพราะเงินสดเป็นสื่อการชำระเงินที่ไม่สามารถบ่งบอกตัวตนของผู้ใช้ได้ จึงยากแก่การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายรวมถึงมักถูก ใช้เพื่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมายต่างๆ อย่างการทุจริตคอรัปชั่น และธุรกิจผิดกฎหมายต่างๆ เป็น ต้น e-payments จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่กล่าวได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอีกอย่างคือ การช่วยแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงการชำระภาษี ทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้มากขึ้นด้วย
             ขณะนี้หลาย ประเทศได้พยายามขับเคลื่อนระบบการชำระเงินที่เขาใช้ศัพท์ว่า “ก้าวพ้นการพึ่งพาเงินสดและเช็ค”ไปสู่ยุคของ e-payments สำหรับประเทศไทยเราก็มีการจัดทำ แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน 2553″ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย กลุ่มธนาคารพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐและธุรกิจที่ใช้บริการชำระเงิน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการชำระเงิน โดยเขามีเป้าหมายหลักเพื่อผลักดันให้มีการใช้ e-payments ในประเทศมากขึ้นครับ ตรงนี้จะมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น และการปรับให้ค่าธรรมเนียมของ e-payments ลดลง เพื่อจูงใจให้มีการใช้มากขึ้น
               การหันมาใช้ e-payments แทนการใช้เงินสดและเช็คก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจต่างควรหาข้อมูลเกี่ยวกับบริการของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขอื่นๆ อย่างเช่น ระยะเวลาที่หักเงินจากบัญชี หรือนำเงินเข้าบัญชี เป็นต้น และยิ่งกว่านั้นการหาข้อมูลจากหลายธนาคารเปรียบเทียบกัน เพราะทำให้สามารถเลือกใช้บริการที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจได้ ในส่วนของประชาชนที่จัดเป็นผู้บริโภคเอง การหันมาใช้บัตรเดบิต บัตรเครดิต และการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เงินสดจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและลดความเสี่ยงจากการถือเงินสดจำนวนมากได้เป็นอย่างดีด้วย



ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องในระบบ ประกอบไปด้วยหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

  1. กรมศุลกากร (Thai Customs Department)

  2. ผู้ให้บริการ Gateways

  3. ลูกค้า ได้แก่ ผู้นำเข้า / ส่งออก (Importer / Exporter), Broker / Shipping

  4. ธนาคาร



ขั้นตอนการตัดบัญชีผ่านระบบ Customs e-Payment ด้วยโปรแกรม Shipping Express


  • ขั้นตอนที่ 1
    บริษัทผู้นำเข้า / ส่งออก (Importer / Exporter), Customs Broker, Shipping, Freight Forwarder, ฯลฯ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนขอชำระภาษีอากรศุลกากรแบบไร้เอกสารไว้กับกรมศุลกากรแล้วใช้โปรแกรม Shipping Express จัดทำใบขนสินค้าข้อมูลใบขนสินค้าฯ และ ส่งใบขนฯ ให้กรมศุลกากรตรวจสอบ 
  • ขั้นตอนที่ 2   รับข้อมูลกลับจากกรมฯ --> กรมศุลกากร แจ้งเลขที่ใบขนฯ, สถานะ "รอการตัดบัญชี", ยอดภาษี / อากรที่ต้องชำระ มาให้
  • ขั้นตอนที่ 3   ระบบกรมศุลกากรแจ้งยอดภาษีอากรที่ต้องชำระให้ระบบของธนาคาร
  • ขั้นตอนที่ 4   Payer ทำการตัดเงินในบัญชี ด้วยระบบ Electronic Banking ของธนาคาร 
  • ขั้นตอนที่ 5   ธนาคารแจ้งกลับผลการตัดเงินในบัญชีให้กรมศุลกากร
  • ขั้นตอนที่ 6   กรมศุลกากรส่งการรับชำระเงินมาให้ โดยตอบกลับเป็น "ได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว" หรือ Error Message กรณีตัดเงินในบัญชีไม่ได้
                           กรมศุลกากรแจ้งให้ไปรับของ --> กรณีได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้วกรมศุลกากร จะส่งมาแจ้งให้ไปรับของ เช่น "ไม่ต้องตรวจ สอบพิกัดศุลกากร, ราคาและของ ให้ไปรับของที่ท่าหรือที่นำเข้า" ฯล
ระบบชำระเงินอีเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมี 14 ระบบ

- ระบบโอนเงินรายใหญ่ (BAHTNET)
- ระบบโอนเงินรายย่อย (Media Clearing)
–3.- ระบบบัตรเครดิต (Credit Card System)
- ระบบแสดงใบเรียกเก็บเงินและชำระเงิน (eBPP)
- ระบบเช็ค (Electronic Cheque Clearing System ; ECS)
- ระบบชำระเงินพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Payment)
- ธนาคารอินเตอร์เนต (Internet Banking)
- ระบบหักบัญชีอัตโนมัติ (Direct Debit / Credit)
- ระบบโอนเงิน EDI (Financial Electronic Data Interchange ; FEDI)
- ระบบโอนเงินรายย่อย (Online Retail Fund Transfer ; ORFT)
- ระบบบัตรเดบิต (Debit Card ; Visa electron)
- ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์
- ระบบโอนเงินระหว่างประเทศด้วยเครือข่าย SWIFT
- ระบบโอนเงินระหว่างประเทศโดย Western Union


§



§
ข้อดี , ข้อเสียของe-payment

ข้อดี


1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง


2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก

3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย

4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง

5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก


ข้อเสีย


1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ

2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ

3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน


4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต