วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง

โปรแกรม MRP, ระบบ MRP

โปรแกรมบริหารการผลิต, โปรแกรมวางแผนการผลิต


โปรแกรม MRP 


                Software MRP (Material Requirement Planning) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับกิจการที่มีโรงงาน (Manufactoring) ซึ่งมีระบบผลิต โดย ภายใต้กำลังการผลิตที่มีจำกัดของโรงงาน ทั้งในแง่ของบุคลากร, เครื่องจักรในการผลิต รวมถึงเวลาในการทำงาน ทำอย่างไรหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงงาน จึงจะสามารถใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ให้เกิดประสิทธิภาพได้มากที่สุด เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินงาน และต่อสู้กับคู่แข่งได้ โดยโรงงานประกอบไปด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบในหน้าที่ซึ่งแตกต่างกัน ได้แก่ ฝ่ายวางแผนการผลิต (Planning), ฝ่ายผลิต (Production), ฝ่ายคลังสินค้าหรือสโตร์ (Warehouse), ฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing), ฝ่ายควบคุมการผลิต (Quality Control), ฝ่ายขาย (Sales) และฝ่ายบัญชี (Accounting) ดังนั้น การที่หน่วยงาน ดังกล่าวจะทำงาน โดยใช้ข้อมูลเดียวกันในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด การนำซอฟท์แวร์ระบบ MRP เข้ามาช่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ "ต้นทุน" เพื่อให้ทราบทั้งต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost) และ ต้นทุนที่แท้จริง (Actual Cost) เพราะจะทำให้กิจการสามารถทราบว่า การผลิตสินค้าใดก่อให้เกิดกำไรได้มากที่สุด หรือสินค้าใด ที่ผลิตแล้วไม่คุ้มทุน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจต่อการกำหนดแผนกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารต่อไป


 ประโยชน์ของโปรแกรม MRP



- MRP ช่วยในการบริหารการผลิต, การวางแผนการผลิต,ควบคุมการผลิต
- MRP ช่วยในการบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ
- MRP ช่วยลดความสูญเสียจากวัตถุดิบที่หมดอายุ
- MRP ช่วยวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบจากคู่ค้า
- MRP ช่วยลดต้นทุนการจัดซื้อวัตถุดิบ
- MRP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- MRP ช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากการผลิต
- MRP ช่วยวางแผนการใช้วัตถุดิบให้พอดีกับแผนการผลิต
- MRP ทำให้สามารถวางแผนและปรับแผนการผลิตได้โดยง่าย
- MRP ช่วยลดข้อผิดพลาดจากระบบเอกสารที่กระจัดกระจายไม่เชื่อมโยงกัน
- MRP ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานและเอกสารแต่ละแผนภายในโรงงาน
- MRP ทำให้ทราบต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าที่ผลิต
- MRP รองรับระบบคุณภาพต่าง ๆ เช่น TQM , QS , ISO เป็นต้น

Feature MRP

  • รองรับตาม Standard MRP concept
  • รองรับระบบการผลิตที่หลากหลาย อาทิ Made to order, Made to stock, Made to stock- assembly to order
  • รองรับการกำหนดปฏิทินการทำงานเพื่อคำนวณวันและเวลาการทำงาน
  • คำนวณความต้องการวัตถุดิบ(MRP : Material Requirement Planning) ตรวจสอบสินค้าคงคลัง หากไม่พอโปรแกรมจะสร้างใบขอซื้อให้อัตโนมัติ
  • รองรับการสร้างเอกสารต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ ทั้งการวางแผนการผลิตและวางแผนการสั่งซื้อ (Run MRP)
  • Production Planning วางแผนการผลิตล่วงหน้า และสามารถเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตได้(กรณี Hot Order)
  • รองรับการบริหารสินค้าทั้งแบบ BOI และ Non-BOI
  • การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) สามารถบริหาร Shop Floor ได้
  • รองรับการจัดทำ BOM (Bill of Material) ได้หลายระดับ และไม่จำกัดชั้น (Multi-level)
  • สูตร BOM มีหลาย Revision ได้
  • สินค้าหนึ่งตัวมีหลาย BOM ได้
  • รองรับการระบุ วัตถุดิบทดแทนสำหรับการเบิกไปผลิตหากวัตถุดิบหลักหมด
  • รองรับที่มาของสินค้าหรือวัตถุดิบที่หลากหลายเช่น การจ้างผลิตภายนอก (Out Source) การสั่งซื้อ การผลิตเอง
  • รองรับชนิดการผลิตทั้งแบบ Batch และเป็นชิ้น ๆ
  • รองรับการจัดเก็บข้อมูลต่างๆของเครื่องจักรได้ทั้ง กลุ่มเครื่องจักร และ work center
  • รองรับกระบวนการ QC ในระบบ อย่างสมบูรณ์
  • ต้นทุนการผลิต (Job Costing) ตรวจสอบต้นทุนจากการผลิตซึ่งเกิดจาก วัตถุดิบทางตรง(DM.)+ค่าแรงทางตรง(DL.)+ค่าโสหุ้ย(OH.) ได้ในแต่ละขั้นตอนการผลิต
  • รองรับการเก็บข้อมูล Lot Traceability
  • สามารถวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตอย่างแท้จริง (Actual Cost)
  • รองรับการบันทึกของเสีย (NG) จากการผลิตแต่ละครั้ง
  • โปรแกรมเป็นแบบ Multi Factory
  • เชื่อมต่อข้อมูลต้นทุนเข้าสู่ระบบบัญชีได้อย่างสมบูรณ์

                                             EOQ  ระบบการสั่งซื้อที่ประหยัด

                 EOQ  หรือ  Economic  Order  Quantity  คือปริมาณการสั่งชื้อที่ประหยัดโดยการสั่งชื้อสินค้าใช้จ่ายในการสั่งชื้อ (Ordering  Cost ) และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า ( Carrying  Cost  ) ( ค่าใช้จ่ายทั้งสองนี้แปรผกผันกัน )

สูตร EOQ = 2DO / C

D  =  ความต้องการสินค้าใน 1 ปี  
O  =  ค่าใช้จ่ายในการสั่งชื้อแต่ละครั้ง
C  =  ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าต่อหน่วยต่อปี 

ประโยชน์ของ  EOQ 

=  ทำให้กิจการสามารถเผชิญกับการผันแปรของ Demand ได้โดยไม่ต้องทำให้เกิดปัญหาการขาด stock
=  ช่วยลดต้นทุนสินค้าเนื่องจากการสั่งชื้อในปริมาณมาก
=  ช่วยประหยัดต้นทุนการสั่งชื้อ
=  กระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุกชะงัก

ข้อจำกัดของ EOQ

=  ความต้องการสินค้ามีปริมาณแน่นอน
=  ระยะเวลาในการสั่งชื้อจนกระทั่งได้รับสินค้า ( Lead  time ) มีระยะเวลาแน่นอน
=  ต้นทุนในการสั่งชื้อสินค้าคงที่
=  ราคาสินค้าต่อหน่วยคงที่
=  ไม่มีการส่งคืนสินค้า
=  ไม่มี  Discount  มาเกี่ยวข้อง
=  การสั่งชื้อทุกครั้งจะได้รับสินค้าโดยการจัดส่งเพียงครั้งเดียว
=  สินค้าไม่ขาด  stock

EOQ  ต้องคำนึงถึง

=  ต้นทุนในการสั่งชื้อ (Ordering  Cost )  เช่น  การออกใบสั่งชื้อการติดตามงานกับ   Supplier
=  ต้นทุนเก็บรักษา ( Holding  Cost )  เช่น ค่าประกันภัยสินค้า  ค่าเช่าโกดังสินค้า
=  อัตราการใช้สินค้า  หรือ  การชื้อซ้ำ (Reorder  point ) คำนวณจากการพยากรณ์ และ  Lead  time  ด้วย
=  Reorder  point   เป็นการตัดสินใจว่าจะทำการสั่งชื้ออีกเมื่อไหร่ซึ่งอาจต้องมีการเผื่อ  Safely  stork  ไว้ระดับหนึ่งเพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต



พัชรินทร์        ตาลต้นโต
รหัสนักศึกษา  52019313

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น